Skip to content
ศึกนินจาสลาตัน ระหว่างหนึ่งที่เพิ่งมา กับ หนึ่งที่ต้องลาจากไป Ninja 300 VS 250

คลื่นลูกเก่าต้องไปเมื่อคลื่นลูกใหม่โถมเข้ามา สัจธรรมของธรรมชาติใช้ได้กับทุกเรื่อง แม้แต่กับรถจักรยานยนต์ที่วางจำหน่ายในท้องตลาด แม้จะสิ้นสุดการจำหน่ายแต่คนที่ซื้อไปก็ยังคงใช้อยู่ เรื่องคันๆ ของทีมงานไรดิ้งซึ่งอยากจะรู้ว่า เจ้าโมเดลใหม่ Ninja 300 ที่วางจำหน่ายแทนที่ Ninja 250 นั้น มันจะเหนือชั้นกว่ากันมากแค่ไหนถึงขนาดกล้าถอดนินจาผู้พี่ออกจากโชว์รูม สำหรับเจ้าของ Ninja 250 บทความในคอลัมน์นี้อาจจะเป็นการปลอบใจให้คลายช้ำหรือตอกย้ำซ้ำยิ่งกว่าเดิม ขอบคุณชุดนักทดสอบจากโปรช็อพ แพดด็อค สนามแข่งรถไทยแลนด์เซอร์กิต และ บริษัท คาวาซากิ มอเตอร์ เอ็นเตอร์ไพรส์ (ประเทศไทย) จำกัด สำหรับรถทดสอบทั้งสองคัน _MG_3846

 

BRAKE TEST
พื้นฐานของระบบเบรกทั้งสองรุ่นนั้น เป็นแบบดิสก์เบรกเดี่ยว คาลิเปอร์ ลูกสูบคู่ จานหน้า 290 มม. จานหลัง 220 มม. เหมือนกัน ส่วนที่ นินจา 300 ได้รับการติดตั้งเพิ่มเติมก็คือระบบ ABS ที่ช่วยป้องกันล้อล็อคเพียงอย่างเดียวเท่านั้นการทดสอบระบบเบรกของนินจาทั้งสองรุ่นนั้น เราได้จัดการทดสอบด้วยความเร็ว 60 กม./ชม. แล้วเบรกเต็มที่ทั้งหน้าและหลัง ระยะเบรกที่ทำได้นั้นสะท้อนออกมาได้อย่างชัดเจนว่า การติดตั้งระบบ ABS มาให้ในนินจา 300 ช่วยให้การเบรกทุกครั้งระยะเบรกสั้นกว่านินจา 250 ได้ค่าเฉลี่ยออกมาดังตารางสรุป ซึ่งนอกจากระยะเบรกที่เราได้ข้อมูลมาแล้ว การทำงานของเบรกแบบที่ ไม่ได้ติดตั้ง ABS ยังส่งผลให้การควบคุมรถยากขึ้นจากอาการของรถที่มีทั้งการล็อคของล้อ และการสับของกันสะเทือน ซึ่งแทบจะไม่เกิดขึ้นเลยกับระบบเบรก ABS

IMG_4564

IMG_4570

 

รุ่น ระยะเบรก
Ninja 250 11.50 เมตร
Ninja 300 7.70 เมตร
ผลต่าง Ninja 300 เบรกสั้นกว่า
Ninja 250 = 3.80 เมตร (ค่าเฉลี่ย)

IMG_4517

ASIST & SLIPPER CLUTCH TEST
มันคือระบบคลัทช์ที่ช่วยลดแรงกระชากของเครื่องยนต์เมื่อเปลี่ยนสู่เกียร์ต่ำลง เป็นโจทย์ที่ยากต่อการเปรียบเทียบให้เห็นเป็นตัวเลขจริงๆ และในการทดสอบครั้งแรกของนินจา 300 ที่สนามโบนันซ่านั้น สภาพอากาศก็ไม่เปิดโอกาสให้ได้ทดลองระบบ แอสซิส แอนด์ สลิปเปอร์คลัทช์ สักเท่าไรเนื่องจากฝนที่ตกลงมาอย่างหนักจนแทร็คนองไปด้วยน้ำ ดังนั้นวันนี้เราจึงมาทดสอบด้วยการจับความรู้สึกกันแบบเน้นๆ ที่โค้ง 4 และโค้ง 12 ซึ่งเป็นโค้งแคบและต้องลดลงมาถึงเกียร์ 2 มันไม่ได้รับรู้แต่คนที่ขับขี่เท่านั้น คนที่ยืนดูอยู่ก็จะรับรู้ได้จากอาการกระตุกของรถ รวมทั้งเสียงเอี๊ยดของยางที่ฟ้องว่ามันถูกแรงฉุดจากเกียร์ดึงรอบอย่างกะทันหัน ท่านสามารถชมภาพเคลื่อนไหวผ่านวิดีโอคลิปที่เรานำเสนอได้อย่างชัดเจน ผลสรุปเป็นตัวหนังสือคือ Ninja 250 เมื่อลดเกียร์แล้วปล่อยคลัทช์จะเกิดแรงฉุดจากเอ็นจิ้นเบรกอย่างหนัก จนทำให้ยางหลังเกิดเสียดสีกับพื้นดังเอี๊ยดอย่างชัดเจน ขณะเดียวกันยังทำให้โช้คสแตนดาร์ดเกิดอาการสับจนเสี่ยงต่อการทรงตัว ข้อดีคือมันช่วยลดภาระของการใช้เบรกลงได้ แต่ข้อด้อยก็คือเราต้องมีสมาธิในการควบคุมรถมากขึ้น ต้องรอให้รถนิ่งเสียก่อนจึงจะเอียงรถเข้าโค้งได้อย่างสบายใจ หากจะแก้ไขอาการดังกล่าวสามารถทำได้โดยเทคนิคการขับขี่ที่ต้องฝึกฝนNinja 300 เมื่อลดเกียร์แล้วปล่อยคลัทช์จะเกิดแรงฉุดจากเครื่องยนต์สั้นๆ ได้ยินเสียงเอี๊ยดของยางเสียดสีกับพื้นเพียงสั้นๆ หลังจากนั้นจะเป็นการหน่วงที่ไม่รุนแรงของเกียร์ที่ต่ำลง รถยังคงมีความเร็วในการไหลอย่างต่อเนื่อง การทรงตัวของรถไม่เสีย โช้คไม่สับ ข้อดีคือสามารถเอียงรถเข้าโค้งได้ไวกว่า ข้อด้อยคือต้องทำความคุ้นเคยกันเล็กน้อย แรกๆ มี “เหวอ” บ้างเหมือนกัน

_MG_3760

_MG_3681

 

CIRCUIT TEST
การทดสอบกำลังของเครื่องยนต์ที่เห็นเป็นตัวเลขชัดเจนที่สุดคือการนำรถไปขึ้นเครื่องวัดแรงม้า ตรงนั้นทางคาวาซากิแจ้งมาชัดเจนแล้วว่า นินจา 300 นั้นมีแรงม้ามากกว่า นินจา 250 ถึง 8 แรงม้า เครื่องยนต์ที่ยังคงเค้าโครงภายนอกของเดิมเอาไว้ แต่ภายในนั้นเปลี่ยนยกไส้กันก็ว่าได้ ลำพังเอาแค่ความจุกระบอกสูบที่พิ่มขึ้นมาก็นำพาความได้เปรียบมามากมายแล้ว แต่นี่เล่นปรับปรุงกันใหม่หมดทั้งระบบหัวฉีด กล่องควบคุม อิเล็คทรอนิกส์ สลิปเปอร์คลัทช์ ภายนอกก็ให้เบรกเอบีเอสที่ทำงานได้ละเอียดกว่าเข้ามาอีก ความสงสัยของทีมงานเราก็คือ อยากจะรู้ว่าทั้งหมดของเทคโนโลยีที่มีอยู่ใน นินจา 300 เมื่อลงสนามดวลกันแบบรอบต่อรอบนั้นมันจะทำให้เกิดความแตกต่างทางด้านเวลากับ นินจา 250 มากน้อยขนาดไหน เราจึงได้ทดสอบด้วยการจับเวลาต่อรอบเปรียบเทียบระหว่างรถทั้งสองรุ่น นำเอาเวลาดีที่สุด ในการขับขี่รอบสนามแข่งรถ ไทยแลนด์เซอร์กิต ทำให้ได้ข้อมูลในการอ้างอิงดังนี้

รุ่น เวลาต่อรอบ (ดีที่สุด)
Ninja 250 1:46.26 นาที
Ninja 300 1:43.27 นาที
ผลต่าง Ninja 300 เร็วกว่า Ninja 250 = 2.99 วินาที / รอบ

_MG_3692

_MG_3735

_MG_3753

_MG_3803

_MG_3824

 

IMG_0005

ความเห็นนักทดสอบ
เขมรัฐ สุธรรมวาท
“ทั้งสองคันเป็นรถที่มีพื้นฐานมิติเดียวกัน น้ำหนักต่างกันเล็กน้อยครับแค่ 2 กก. แต่การตอบสนองของทุกอย่าง ทั้งการเร่งเครื่องยนต์ เบรก และระบบสลิปเปอร์คลัทช์ มันทำให้การขับขี่ต่างกันมาก…เน้นว่า “มาก” ครับเครื่องยนต์ของนินจา 300 นั้นอัตราเร่งจัดกว่า 250 มาก มากจนหลายจุดของสนามสามารถขี่ได้ด้วยเกียร์ที่สูงกว่า 1 เกียร์ สลิปเปอร์คลัทช์มันช่วยให้การเข้าโค้งราบรื่น ง่ายอย่างไม่น่าเชื่อ นินจา 250 ต้องตั้งลำให้ตรงไว้เพื่อจัดการกับเอ็นจิ้นเบรกแล้วทรงตัวให้นิ่งเสียก่อนการเอียงรถจึงจะเริ่มขึ้น แต่กับนินจา 300 รถทรงตัวได้นิ่ง มีช่วงเวลาของเอ็นจิ้นเบรกมารบกวน ไม่ใช่ไม่มีเลย แต่เกิดขึ้นภายในระยะเวลาที่สั้นมากๆ จนแทบไม่มีผลครับ ความเร็วที่ทำได้ปลายทางตรงในเกียร์ 5 นินจา 300 ได้ถึง 146 กม./ชม. เร็วกว่านินจา 250 ที่ทำได้ 136 กม./ชม.เบรกเอบีเอสเมื่อทำงานร่วมกับสลิปเปอร์คลัทช์ มันกลายเป็นความราบรื่นที่ลงตัว ในนินจา 250 แม้ว่าเบรกจะไม่มีเอบีเอสและเป็นคลัทช์แบบธรรมดา น่าจะช่วยชะลอความเร็วของรถก่อนเข้าโค้งได้มากกว่า ใช่ครับ…แต่สิ่งที่ไม่ต้องการแถมมาด้วยคืออาการของรถที่ทื่อเพราะความจริงแล้วก็ยังคงต้องใช้เบรกหนักเหมือนเดิมก่อนจะพับรถเลี้ยวลงไป ขณะที่ผมรู้สึกสบายกว่าและเลี้ยวได้ง่าย ความเร็วในโค้งดีกว่าเมื่อขี่นินจา 300 อาจจะใจร้ายไปนิด แต่ผมแนะนำว่าคนที่มีนินจา 250 อยู่แล้ว อย่าได้สนใจหรือเผลอไปลองขี่เจ้านินจา 300 เลยครับ มันทำใจลำบาก”

IMG_0001

ความเห็นนักทดสอบ
จตุรงค์ หมื่นทิพย์
“ต้องบอกเลยว่า หลากรสต่างอารมณ์ สำหรับคู่แฝด นินจา 250 และ 300 รูปร่างหน้าตาถอดแบบกันมาเด๊ะๆ แทบดูไม่ออก แต่สิ่งที่สังเกตชัดเจนน่าจะเป็นที่ เบรก ABS ซึ่งมีส่วนช่วยให้การสั่งหยุดได้มั่นใจมากในความเร็วสูง จากการขับขี่ในสนามแข่ง ซึ่งถ้าใช้งานบนท้องถนนคงไม่ต้องพูดถึงกับประสิทธิภาพว่าจะเพิ่มความปลอดภัยได้มากยิ่งขึ้น แต่ในตัว 250 ไม่มี ทำให้การกดเบรกแต่ละครั้งจะหยุดได้ไกลกว่า และมีอาการล้อล็อคแต่ก็ไม่ถึงกับมีอาการเสียการทรงตัว การอัพเกรดเครื่องยนต์จาก 250 ขึ้นมาเป็น 300 โดยใช้ฐานเครื่องเดิม ให้อารมณ์ที่แตกต่างอย่างเห็นได้ชัดในเรื่องของแรงบิดต่อรอบ 250 จะไล่รอบขึ้นมาแบบนิ่มๆ ควบคุมง่าย และจะพุ่งช่วงปลายๆ ที่ 7,000 รอบ แต่สำหรับ 300 รอบกวาดขึ้นเร็ว เรียกใช้กำลังได้ง่ายกว่าเมื่อกระแทกคันเร่งในแต่ละรอบ และโดดเด่นด้วยระบบสลิปเปอร์คลัทช์ เทคโนโลยีใหม่ที่ช่วยให้การเปลี่ยนเกียร์ลงต่ำในความเร็วสูง ลดอาการกระชากและล้อหลังล็อค ทำให้การเชนเกียร์กะทันหันรถไม่เสียการทรงตัวแม้อยู่ในโค้ง ซึ่งในตัว 250 เป็นระบบคลัทช์แบบธรรมดาที่ต้องใช้เอ็นจิ้นเบรกช่วยเยอะ สำหรับความคล่องตัวและมิติท่านั่งของตัวรถไม่แตกต่าง นั่นเป็น 3 จุดหลักๆ ที่ 300 ได้พัฒนาขึ้นเพื่อการขับขี่ที่สนุกมากขึ้น ทำให้เจ้า 250 ต้องกลายเป็นตำนานโดยปริยาย”