Skip to content
2017 Suzuki RMZ450 พัฒนาต่อยอดหลังปรับเปลี่ยน ครั้งใหญ่

Suzuki ส่ง MXer โมเดล 2017 ที่นำขบวนออกจากไลน์การผลิตด้วยเรือธงอย่าง RM-Z450 ที่มาพร้อมกับเทคโนโลยีที่ว่าพัฒนาโดย Factory Motocross Team คือ Suzuki Holeshot Assist Control (S-HAC) ระบบที่พัฒนาเพื่อความโดดเด่นในการออกตัว พร้อมทะยานออกจากเกทสตาร์ทในทุกสภาพพื้นผิวแทร็ค และ Air Fork ที่พัฒนาให้เปี่ยมด้วยประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

rm-z450-my2017-3

โดย Air Fork หรือระบบกันสะเทือนหน้า Showa SFF-Air fork ที่มาพร้อมกับลูกเล่นสุดล้ำ “ง่ายแบบไม่เคยมีมาก่อน”ในการปรับเซ็ท เพียงการดาวน์โหลดแอพ SFF-Air Support app จาก Showa ทั้งแบบ Android หรือ Apple ที่จะจำลองผลการปรับเซ็ทค่าต่างๆที่หลากหลายแบบเพื่อช่วยให้สามารถเลือกการเซ็ทระบบกันสะเทือนที่เหมาะสมที่สุดสำหรับ RM-Z ของคุณ โดย SFF-Air Fork ที่ได้รับการพัฒนามาจากทีมแข่งโรงงานนี้ จะแบ่งห้องแชมเบอร์เป็นสามห้อง คือ Inner Air Chamber ที่จะเป็นห้องหลักในการรับแรงกดกระแทก (ค่าสปริงเรท) , ถัดมาเป็นห้องที่ทำหน้าที่ควบคุมสมดุลในจังหวะระบบกันสะเทือนคลายตัว คือ Balnce Air Chamber opposing และ ห้องที่สามจะทำหน้าที่สนับสนุนการทำงานของห้องหลักทั้งสอง คือ Outer Air Chamber ขณะที่ในส่วนของระบบ S-HAC นั้น ระบบที่ออกแบบมาเพื่อเลือกโหมดการออกตัวจากเกทสตาร์ท ที่ได้รับการปรับจากเวอร์ชั่นแรกที่ออกมาในปี 2015 ซึ่งจะมีสามโหมดการใช้งานให้ผู้ขี่เลือกออพชั่นการขี่ตามทักษะและสภาพการแข่งขัน คือ A Mode : สำหรับพื้นผิวที่แข็ง หรือ สภาพสนามบริเวณเกทสตาร์ทที่ลื่น โดย S-HAC จะช่วยลดอาการลื่นของล้อช่วยให้ออกตัวได้นุ่มนวล แล้วเมื่อผ่านไป 1.2 วินาทีหรือเตะเกียร์สาม ระบบจะตัดกลับมาใช้ค่าการจุดระเบิดแบบเดิม B Mode : เมื่อสภาพพื้นผิวที่เกทสตาร์ทมีสภาพที่หนึบพอสำหรับการออกตัว โดยที่ต้องใช้การพุ่งออกจากเกทที่ดุดันรุนแรง โดยในโหมดนี้จะตัดกลับมาที่ค่าการจุดระเบิดแบบเดิม เมื่อมีสามสถานการณ์ คือ ผ่านไป 4.5 วินาทีนับจากจังหวะการเปิดคันเร่ง , เมื่อเปลี่ยนเข้าเกียร์สี่ และ เมื่อยกคันเร่ง Base Mode : จะเป็นการออกตัวด้วยค่ามาตรฐานของการเซ็ทค่าเชื้อเพลิงปกติ กล่าวคือ ไม่มีการใช้งานระบบ S-HAC ในการออกตัว

rm_z450_my2017_2

rm-z450-my2017-1

rm_z450_my2017_6

rm_z450_my2017_5

สำหรับเครื่องยนต์ยังคงเป็นขนาด 449 ซี.ซี. 4 จังหวะ DOHC 4 วาล์ว ระบายความร้อนด้วยน้ำ จ่ายเชื้อเพลิงด้วยหัวฉีด ที่ยังคงจุดเด่นเรื่องสมรรถนะความแข็งแกร่งของกำลังเครื่องยนต์อันทรงพลัง โดย piston และ piston pin พัฒนาโดยการใช้ระบบวิเคราะห์ Finiite Element Method(FEM) ซึ่งเป็นระบบคำนวณเพื่อหาขีดจำกัดของชิ้นส่วนดังกล่าว ดังนั้นเพื่อเพิ่มความแข็งแกร่งและลดแรงเสียดทาน ช่วยให้มีอายุการทำงานที่ยาวนานจึงมีการเคลือบพื้นผิว piston pin แบบ Daimond-Like Carbon (DLC) สำหรับในส่วนของเครื่องยนต์นี้ได้ออกแบบให้ผู้ขี่สามารถปรับเซ็ทสมรรถนะเครื่องยนต์ได้เหมาะสมกับสภาพสนามอย่างง่ายดายการเพิ่มค่าการเซ็ทอัตราการจ่ายเชื้อเพลิงได้สองค่าผ่าน fuel-setting couplers โดยสามารถเสียบได้ง่ายที่ข้างสนาม เพียงเลือกที่จะต่อสายกับ Coupler ตามความต้องการ โดยตัวหนึ่งจะจ่ายเชื้อเพลิงมากกว่า ขณะที่อีกตัวหนึ่งจะจ่ายเชื้อเพลิงน้อยกว่า เมื่อเทียบกับ ค่าเดิมแชสซีที่ลงตัวด้วยการปรับในส่วนของเฟรมให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่องด้วย twin spar aluminium frame ที่พัฒนาจนลงตัวระหว่างความแข็งแกร่งและการให้ตัวของชิ้นส่วน ที่มีส่วนให้ RM-Z คือหนึ่งในรถโมโตครอสที่มีประสิทธิภาพในโค้งดีที่สุดรุ่นหนึ่ง โดยเฟรมในโมเดลนี้จะมีน้ำหนักเบาและเพรียวกว่าเฟรมที่ใช้ในโมเดลก่อนหน้านี้

rm-z450-e-250-my2017

rm-z450-my2017-2

 

ข้อมูลพื้นฐานของตัวรถ 
เครื่องยนต์ 449 ซี.ซี., 4-จังหวะ,
ระบายความร้อนด้วยน้ำ, สูบเดียว, DOHC
กระบอกสูบxช่วงชัก 96.0 x 62.1 ม.ม.
อัตราส่วนกำลังอัด 12.5:1
ระบบจ่ายเชื้อเพลิง Fuel Injection
สตาร์ทเครื่องยนต์ kick start
การส่งกำลัง 5 สปีด
คลัทซ์ แบบเปียกหลายแผ่นซ้อน
โซ่ DID520MXV4, 114 ข้อ
กันสะเทือนหน้า โช้คหัวกลับแบบ
telescopic, air spring, oil damped
กันสะเทือนหลัง แบบกระเดื่อง, coil spring,
oil damped
เบรกหน้า ดิสก์เบรกเดี่ยว
เบรกหลัง ดิสก์เบรกเดี่ยว
ยางหน้า 80/100-21 51M, tube type
ยางหลัง 110/90-19 62M, tube type
ความจุถังเชื้อเพลิง 6.2 ล.
การจุดระเบิด Electronic Ignition (CDI)
ความยาว 2190 ม.ม.
ความกว้าง 830 ม.ม.
ความสูง 1270 ม.ม.
ระยะฐานล้อ 1495 ม.ม.
ความสูงจากพื้น 325 ม.ม.
ความสูงเบาะนั่ง 955 ม.ม.
น้ำหนัก 112 ก.ก.