Skip to content
2017 Suzuki RMZ450

พัฒนาต่อยอดหลังปรับเปลี่ยนครั้งใหญ่ พร้อมเป็น ที่สุดของซีรี่ส์ SX-F เท่าที่เคยผลิตออกมา Suzuki ส่ง MXer โมเดล 2017 ที่นำขบวนออกจากไลน์การผลิตด้วยเรือธงอย่าง RM-Z450 ที่มาพร้อมกับเทคโนโลยีที่ว่าพัฒนาโดย Factory Motocross Team คือ Suzuki Holeshot Assist Control (S-HAC) ระบบที่พัฒนาเพื่อความโดดเด่นในการออกตัว พร้อมทะยานออกจากกริดสตาร์ทในทุกสภาพพื้นผิวแทร็ค และ Air Fork ที่พัฒนาให้เปี่ยมด้วยประสิทธิภาพยิ่งขึ้น rm-z450-e-250-my2017

โดย Air Fork หรือระบบกันสะเทือนหน้า Showa SFF-Air fork ที่มาพร้อมกับลูกเล่นสุดล้ำ “ง่ายแบบไม่เคยมีมาก่อน”ในการปรับเซ็ท เพียงการดาวน์โหลดแอพ SFF-Air Support app จาก Showa ทั้งแบบ Android หรือ Apple ที่จะจำลองผลการปรับเซ็ทค่าต่างๆที่หลากหลายแบบเพื่อช่วยให้สามารถเลือกการเซ็ทระบบกันสะเทือนที่เหมาะสมที่สุดสำหรับ RM-Z ของคุณ โดย SFF-Air Fork ที่ได้รับการพัฒนามาจากทีมแข่งโรงงานนี้จะแบ่งห้องแชมเบอร์เป็นสามห้อง คือ Inner Air Chamber ที่จะเป็นห้องหลักในการรับแรงกดกระแทก (ค่าสปริงเรท) , ถัดมาเป็นห้องที่ทำหน้าที่ควบคุมสมดุลในจังหวะระบบกันสะเทือนคลายตัว คือ Balnce Air Chamber opposing และ ห้องที่สามจะทำหน้าที่สนับสนุนการทำงานของห้องหลักทั้งสอง คือ Outer Air Chamber ขณะที่ในส่วนของระบบ S-HAC นั้น ระบบที่ออกแบบมาเพื่อเลือกโหมดการออกตัวจากกริดสตาร์ท ที่ได้รับการปรับจากเวอร์ชั่นแรกที่ออกมาในปี 2015 ซึ่งจะมีสามโหมดการใช้งานให้ผู้ขี่เลือกออพชั่นการขี่ตามทักษะและสภาพการแข่งขัน คือ A Mode : สำหรับพื้นผิวที่แข็ง หรือ สภาพสนามบริเวณกริดสตาร์ทที่ลื่น โดย S-HAC จะช่วยลดอาการลื่นของล้อช่วยให้ออกตัวได้นุ่มนวล แล้วเมื่อผ่านไป 1.2 วินาทีหรือเตะเกียร์สาม ระบบจะตัดกลับมาใช้ค่าการจุดระเบิดแบบเดิม B Mode : เมื่อสภาพพื้นผิวที่เกมสตาร์ทมีสภาพที่หนึบพอสำหรับการออกตัว โดยที่ต้องใช้การพุ่งออกจากกริดที่ดุดันรุนแรง โดยในโหมดนี้จะตัดกลับมาที่ค่าการจุดระเบิดแบบเดิม เมื่อมีสามสถานการณ์ คือ ผ่านไป 4.5 วินาทีนับจากจังหวะการเปิดคันเร่ง , เมื่อเปลี่ยนเข้าเกียร์สี่ และ เมื่อยกคันเร่ง Base Mode : จะเป็นการออกตัวด้วยค่ามาตรฐานของการเซ็ทค่าเชื้อเพลิงปกติ กล่าวคือ ไม่มีการใชงานระบบ S-HAC ในการออกตัว rm-z450-my2017-1

rm_z450_my2017_7

rm_z450_my2017_6

rm_z450_my2017_2

สำหรับเครื่องยนต์ยังคงเป็นขนาด 449 ซี.ซี. 4จังหวะ DOHC 4วาล์ว ระบายความร้อนด้วยน้ำ จ่ายเชื้อเพลิงด้วยหัวฉีด ที่ยังคงจุดเด่นเรื่องสมรรถนะความแข็งแกร่งของกำลังเครื่องยนต์อันทรงพลัง โดย piston และ piston pin พัฒนาโดยการใช้ระบบวิเคราะห์ Finiite Element Method(FEM) ซึ่งเป็นระบบคำนวณเพื่อหาขีดจำกัดของชินส่วนดังกล่าว ดังนั้นเพื่อเพิ่มความแข็งแกร่งและลดแรงเสียดทาน ช่วยให้มีอายุการทำงานที่ยาวนานจึงมีการเคลือบพื้นผิว piston pin แบบ Daimond-Like Carbon(DLC) สำหรับในส่วนของเครื่องยนต์นี้ได้ออกแบบให้ผู้ขี่สามารถ ปรับเซ็ทสมรรถนะเครื่องยนต์ได้เหมาะสมกับสภาพสนามอย่างง่ายดายการเพิ่มค่าการเซ็ทอัตราการจ่ายเชื้อเพลิงได้สองค่าผ่าน fuel-setting couplers โดยสามารถเสียบได้ง่ายที่ข้างสนาม เพียงเลือกที่จะต่อสายกับ Couplerตามความต้องการ โดยตัวหนึ่งจะจ่ายเชื้อเพลิงมากกว่า ขณะที่อีกตัวหนึ่งจะจ่ายเชื้อเพลิงน้อยกว่า เมื่อเทียบกับค่าเดิมrm-z450-my2017-2

แชสซีส์ที่ลงตัวด้วยการปรับในส่วนของเฟรมให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่องด้วย twin spar aluminium frame ที่พัฒนาจนลงตัวระหว่างความแข็งแกร่งและการให้ตัวของชิ้นส่วน ที่มีส่วนให้ RM-Z คือหนึ่งในรถโมโตครอสที่มีประสิทธิภาพในโค้งดีที่สุดรุ่นหนึ่ง โดยเฟรมในโมเดลนี้จะมีน้ำหนักเบาและเพรียวกว่าเฟรมที่ใช้ในโมเดลก่อนหน้านี้

rm-z450-my2017-3

ข้อมูลพื้นฐานของตัวรถ มีดังนี้
เครื่องยนต์ 449ซี.ซี., 4-จังหวะ,
ระบายความร้อนด้วยน้ำ, สูบเดียว, DOHC
กระบอกสูบxช่วงชัก 96.0 x 62.1 ม.ม.
อัตราส่วนกำลังอัด 12.5:1
ระบบจ่ายเชื้อเพลิง Fuel Injection
สตาร์ทเครื่องยนต์ kick start
การส่งกำลัง 5สปีด
คลัทซ์ แบบเปียกหลายแผ่นซ้อน
โซ่ DID520MXV4, 114 ข้อ
กันสะเทือนหน้า ช๊อคหัวกลับแบบ
telescopic, air spring, oil damped
กันสะเทือนหลัง แบบกระเดื่อง, coil spring,
oil damped
เบรกหน้า ดิสก์เบรกเดี่ยว
เบรกหลัง ดิสก์เบรกเดี่ยว
ยางหน้า 80/100-21 51M, tube type
ยางหลัง 110/90-19 62M, tube type
ความจุถังเชื้อเพลิง 6.2 ล.
การจุดระเบิด Electronic Ignition (CDI)
ความยาว 2190 ม.ม.
ความกว้าง 830 ม.ม.
ความสูง 1270 ม.ม.
ระยะฐานล้อ 1495 ม.ม.
ความสูงจากพื้น 325 ม.ม.
ความสูงเบาะนั่ง 955 ม.ม.
น้ำหนัก 112 ก.ก.